พระ สมเด็จนางพญา จิตรลดา สก เนื้อทองคำ ล้อมเพชร
โดย ธีรภัทร์ สุนทรหัทยา ปรับปรุงล่าสุดเมื่อ 14 ก.ย. 2554.
พระ สมเด็จนางพญา สก จิตรลดา เนื้อทองคำ ฝังเพชร นน. 10.30 g. ฝังเพชร 27 เม็ด 0.30 กะรัต งานสวยน่าสะสม ของจริงสวยกว่าในรูปมาก
ขนาด 2.50*4.00 ซม.
%%% ชิ้นนี้สวยมากกก %%%
ของจริงสวยกว่าในรูปมากกกกๆๆๆ
รายละเอียดสินค้า
ทองแท้น้ำหนักรวมทั้งหมด 10.30 กรัม (ชั่งน้ำหนักรวมทั้งชิ้น)
เหรียญสมเด็จนางพญาจิตรลดา สก. ทองคำ หนัก 7.6 กรัม ครับ พร้อมกล่องกำมะหยีสีน้ำเงิน เดิม ๆ เลย หายากมาก มวลสารและพิธีก็สุดยอดแห่งการสร้าง พ.ศ. 2535 ในหลวงทรงเสด็จเททองด้วย สร้างในมงคลวโรกาสเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบสมเด็จพระราชินีนาถ จัดสร้างตามแบบพิธีโบราณ
พระสมเด็จนางพญา ส.ก.
พระสมเด็จนางพญาจิตรลดา สก พิมพ์กลาง เนื้อทองคำ
ประวัติการจัดสร้าง :สำนักงานปลัดสำนักนายกรัฐมนตรีจัดสร้างขึ้น เนื่องในมหามงคลวโรกาส สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ มีพระชนมพรรษา 5 รอบ เมื่อวันที่ 12 สิงหาคม 2535
พระสมเด็จนางพญาจิตรลดา จัดสร้างเป็นพระเครื่องเนื้อทองคำและเนื้อโลหะผสม ลักษณะพระสมเด็จนางพญาจิตรลดานี้ จะมีลักษณะทรวดทรงคล้ายพระนางพญาพิษณุโลก และพระนางพญาเสน่ห์จันทร์ เน้นความงดงามของพระวรกาย และเส้นลวดลายในองค์พระ
การจัดสร้างมีเนื้อทองคำหนักหนึ่งบาท หนักสองสลึงและหนักหนึ่งสลึง อย่างละ 6,999 องค์ เนื้อโลหะผสมขนาดใหญ่และเล็ก จำนวน 200,000 องค์
พิธีลงทอง จารแผ่นยันต์และพุทธาภิเษกแผ่นยันต์เมื่อ พุธที่ 8 ม.ค.2535 ณ อุโบสถวัดนางพญา พิษณุโลก พระคณาจารย์ร่วมแผ่เมตตาจิตนั่งปรกบริกรรมรวม 97 รูป
สำหรับโลหะที่นำมาจัดสร้างได้มาจากการลงแผ่นยันต์ ทอง นาก เงิน ทองแดง อย่างละ 108 แผ่น รวมทั้ง นะปถะมัง ดวงประสูติและดวงตรัสรู้ และนำแผ่นยันต์ที่ ถวายแก่พระคณาจารย์รวม 73 จังหวัดๆละ 9 วัด รวม 5,913 แผ่น นอกจากนี้ยังมีชนวนทองคำและชนวนนวโลหะของพระสมเด็จย่า90 พรรษาเมื่อปี 2533 มาร่วมด้วย หลังจากพิธีพุทธาภิเษกแล้วคณะกรรมการได้นำขึ้นทูลเกล้าเพื่อทรงพระสุหร่าย และอธิษฐานจิตแล้ว จะนำไปหล่อหลอมต่อไป
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯพระบรมราชินีนาถ ทั้งสองพระองค์ได้เสด็จฯทรงเททอง ณ บริเวณพระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 2535 เวลาฤกษ์ 15.59น.ในการนี้สมเด็จพระนางเจ้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานทองคำและเงินอย่างละ 6 แผ่นร่วมในการสร้างพระดังนี้ฯลฯ
."เพื่อให้การจัดสร้างวัตถุมงคลในครั้งนี้ได้มีความสมบูรณ์พร้อมตามวัตถุ ประสงค์ คณะกรรมการดำเนินโครงการ จึงได้กำหนดวิธีการประกอบพิธีอย่างถูกต้องตามประเพณีโบราณ ซึ่งสืบทอดมาตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงศรีอยุธยา เพื่อให้ได้วัตถุมงคลที่เข้มขลังเอกอุไปด้วยพลังแห่งพุทธคุณ พร้อมทั้งงดงามสมบูรณ์ตามยุคสมัย โดยได้กำหนดให้มีพิธีพุทธาภิเษกมวลสารชนวนโลหะที่ใช้ในการสร้างวัตถุมงคล พิธีเททองและพิธีมหาพุทธาภิเษกรวมทั้งสิ้น 16 ครั้ง"
...พิธีพุทธาภิเษกมวลสารพระเนื้อผง การลงทองและจารแผ่นพระยันต์ ประกอบพิธีพุทธาภิเษก 7 เสาร์ 7 อังคาร ณ พระอุโบสถวัดสำคัญ 15 วัด รวม 16 ครั้ง
เริ่มต้นครั้งที่ 1 ณ พระอุโบสถวัดชนะสงคราม
ครั้งที่ 2 วัดพระราม ๙ กาญจนาภิเษก
ครั้งที่ 3 วัดใหญ่ชัยมงคล
ครั้งที่ 4 วัดโสธรวรารามวรวิหาร
ครั้งที่ 5 วัดมังกรกมลาวาส
ครั้งที่ 6 วัดบวรนิเวศวิหาร
ครั้งที่ 7 วัดสุทัศนเทพวราราม
ครั้งที่ 8 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม
ครั้งที่ 9 วัดระฆังโฆสิตาราม
ครั้งที่ 10 วัดห้วยมงคล
ครั้งที่ 11 เทวสถานโบสถ์พราหมณ์
ครั้งที่ 12 วัดเทวราชกุญชรวรวิหาร
ครั้งที่ 13 วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม
ครั้งที่ 14 วัดนางพญา
และครั้งที่ 15 วัดพระศรีรัตนศาสดาราม
และครั้งที่ 15 นี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงประกอบพิธีเททองหล่อพระพุทธรัชมงคลประชานาถ และพระกริ่งจักรตรี และพระราชทานทองคำส่วนพระองค์ร่วมในพิธีด้วย
ประกาศอื่นๆในหมวดหมู่เดียวกัน 20 รายการ (แสดงทั้งหมด)
หน้า แสดง - จากทั้งหมด 3729 ประกาศ
|
|
|
|
|
|
|
3,550 บาท |
|
|
|
8,000 |
|
|
|
28,800 |
|
|
|
3,000 บาท |
|
|
|
35,000 บาท |
|
|
|
65,000 บาท |
|
|
|
9,999 |
|
|
|
16,000 บาท |
|
|
|
72,000 |
|
|
|
1,200 |
|
|
|
ไม่ระบุราคา |
|
|
|
500 บาท |
|
|
|
59,500 บาท |
|
|
|
1,800 บาท |
|
|
|
12,500 |
|
|
|
8,500 บาท |
|
|
|
92,500 |
|
|
|
7,500 |
|
|
|
2,500 บาท |